ความรู้เกี่ยวกับสเตนเลส

 

เพราะเหตุใดสเตนเลสหรืออุปกรณ์สินค้าที่ผลิตจากสเตนเลส ถึงเข้ามามีบทบาทและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่ว่าอุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์ทำครัว หม้อ ตะหลิว จาน ชาม

ของชำร่วย ครัวร้านอาหาร โรงแรม อุตสาหกรรมโรงงานเกี่ยวกับอาหารต่างๆ อุปกรณ์ส่วนใหญ่ล้วนแล้วผลิตจากสเตนเลสทั้งสิ้น

เราจะพาท่านไปรู้จัก”เหล็กกล้าไร้สนิม”  หรือที่เราเรียกติดปาก ว่า “สเตนเลส” กันค่ะ

 

 

การที่โลหะเกิดออกไซด์ทำให้เกิดการกัดกร่อนของเนื้อโลหะ ในกรณีที่วัสดุนั้นเป็นเหล็ก จะทำให้เกิดสิ่งที่เราเรียกกันว่า สนิมเหล็ก (Stain) มีลักษณะเป็นเนื้อพรุน ทำให้เหมาะที่จะกักเก็บไอน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่น ทั้งจากอากาศและอาหาร สอดแทรกเข้าไปทำปฏิกิริยากับเนื้อเหล็กที่อยู่ใต้ชั้นออกไซด์ต่อได้ ทำให้เนื้อเหล็กที่อยู่ใต้ชั้นออกไซด์สามารถถูกกัดกร่อน

ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาโลหะผสม (Alloy,อัลลอย) ที่เรารู้จักกันดี คือ สแตนเลสสตีล (Stainless Steel) มีความหมายตรงตัว คือ เหล็กกล้าไร้สนิม เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ(น้อยกว่า 2%)ของน้ำหนัก มีส่วนผสมของโครเมียม อย่างน้อย 10.5% กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.1903 และมีการเติม นิเกิล,โมบิดินัม,ไททาเนียม,ไนโอเนียม หรือโลหะอื่นแตกต่างกันไปตามชนิด ของคุณสมบัติเชิงกล และการใช้ลงในเหล็กกล้าธรรมดา ทำให้เหล็กกล้ามีความต้านทานการเกิดสนิมได้และการนำความร้อนได้ดีขึ้น

ซึ่งการที่มีโครเมียมผสมอยู่ในโลหะ จะทำให้เกิดคุณสมบัติของฟิล์มออกไซต์บนพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นฟิล์มปกป้อง หรือพลาสซิฟเลเยอร์ (Passive Layer) ที่เหมือนเกราะป้องกันการกัดกร่อนให้กับสแตนเลส สตีล

ฟิล์มปกป้องนี้จะมีขนาดบางมาก (สำหรับแผ่นสเตนเลสบางขนาด 1 มม. ฟิล์มหรือพาสซีฟ เลเยอร์นี้ จะมีความบางเทียบเท่ากับวางกระดาษ 1 แผ่น บนตึกสูง 20 ชั้น) และมองตาเปล่าไม่เห็นฟิล์มนี้จะเกาะติดแน่น และทำหน้าที่ปกป้องสเตนเลส สตีล จากการกัดกร่อน หากนำไปผลิตแปรรูปหรือใช้งานในสภาพเหมาะสม เมื่อเกิดมีการขีดข่วน ฟิล์มปกป้องนี้จะสร้างขึ้นใหม่ได้เองตลอดเวลา

แต่โดยส่วนใหญ่สแตนเลสสตีล ที่นำมาทำเครื่องครัวที่ใช้กัน จะประกอบด้วย

โครเมียม 0% นิเกิล (Nickel) 0% เรียกว่า 18/0
โครเมียม 8% นิเกิล (Nickel) 18% เรียกว่า 18/8
โครเมียม 10% นิเกิล 18% เรียกว่า 18/10 เป็นสแตนเลสสตีล จึงที่นิยมใช้ในการทำเครื่องครัวคุณภาพดี

โดยสังเกตุยิ่งค่าของนิกเกิลยิ่งสูง จะเป็นสเตนเลสสตีลที่มีคุณภาพสูง จะยิ่งทนต่อการกัดกร่อน การเกิดสนิม และสวยงามแวววาวมากขึ้น

 

เครื่องครัวที่ทำจากสเตนเลสสตีล มีข้อดีและข้อเสีย หลายอย่างเช่น

 

    ข้อดีของการใช้สแตนเลสสตีล

ความต้านทานการกัดกร่อนสูง
ไม่มีปฏิกริยาต่อกรดและด่าง
ไม่กระเทาะหรือแตกหักเสียหายง่าย ทนทานต่อการนำมาใช้งาน
   ข้อเสียของการใช้สแตนเลสสตีล

มีค่าการนำความร้อนต่ำ
ไม่เก็บกักความร้อนเอาไว้นาน
ราคาสูง

จึง มักจะใช้ทำเครื่องครัวโดยผสมกับทองแดง (Copper) หรืออะลูมิเนียม (Aluminum) ซึ่งเป็นโลหะที่มีค่าการนำความร้อนสูง เรียกได้ว่าเป็นการผสมผสานข้อดีของวัสดุต่างๆ เพื่อนำมาใช้ทำเครื่องครัวที่เหมาะสมกับผู้ที่รักการทำอาหาร

 

ข้อปฎิบัติสำหรับงานสเตนเลส
ควรทำ
- เมื่อไม่ได้มีการทำความสะอาดสเตนเลส อย่างสม่ำเสมอ เมื่อสังเกตเห็นคราบหรือฝุ่นละอองใด ๆ ต้องรีบทำความสะอาดทันที
- การทำความสะอาดสเตนเลส ควรเริ่มจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ที่อ่อนที่สุด โดยเริ่มใช้ในบริเวณเล็ก ๆ ก่อนเพื่อดูว่าเกิดผลกระทบอะไร กับผิวสเตนเลสหรือไม่
- ใช้น้ำอุ่นล้างคาบความมันออก ไม่ควรใช้ยาฆ่าเชื้อในการทำความสะอาดชิ้นส่วนสเตนเลส
- หมั่นล้างสเตนเลสด้วนน้ำสะอาด เป็นขั้นตอนสุดท้ายเช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่ม หรือกระดาษชำระ
- เมื่อใช้กรดกัดทำความสะอาดสเตนเลส ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
- หลังจากใช้เครื่องครัวที่ทำด้วยสเตนเลส ควรล้างให้สะอาดทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงคราบ/สนิมเหล็ก ที่อาจติดมากับอุปกรณ์ทำความสะอาด ที่ทำมาจากเหล็ก หรือใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนเหล็กกล้าคาร์บอน
- ในกรณีที่ประสบปัญหาในการทำความสะอาด
สเตนเลสควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

ไม่ควรทำ
- ไม่ควรเคลือบผิวสเตนเลสด้วยแว็กหรือวัสดุที่ผสมน้ำมันเพราะจะทำให้คราบสกปรก หรือฝุ่นละอองติดบนพื้นผิวได้ง่ายขึ้นและล้างทำความสะอาดออกได้ยาก
- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ที่มีส่วนประกอบของคลอไรด์และฮาไลด์ เช่น โบรไมน์, ไอโอดีนและผลูออรีน
- ไม่ควรใช้กรดไฮโดรคลอริก (HCI) ในการทำความสะอาด เพราะอาจก่อให้เกิดการกัดกร่อน แบบรูเข็ม และการแตกเนื่องจากความเครียด (Stress Corrosion Crocking)
- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เราไม่แน่ใจ
- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำความสะอาดเครื่องเงิน ในการทำความสะอาดสเตนเลส
- ไม่ควรใช้สบู่ หรือผงซักฟอกมากเกินไป เพราะจะทำให้ผิวสเตนเลสมัวและหมองลง
- ไม่ควรทำความสะอาด และทำพาสซิเวชั่นในขั้นตอนเดียวกัน ควรทำตามขั้นตอน คือ ล้างก่อนแล้วค่อยทำพาสซิเวชั่น

 

ที่มา … FoodieTaste

 

ใส่ความเห็น

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>